หลังจากพยายามตามหา Invite กูเกิล+ จากแหล่งต่างๆ จนในที่สุดทีมงานผู้จัดการออนไลน์ ก็ได้รับการเชิญชวนให้เป็นหนึ่งในผู้ร่วมทดสอบบริการ กูเกิล+ เครือข่ายสังคมตัวใหม่ล่าสุดจากกูเกิลแล้ว โดยจากข่าวเก่า "กูเกิลส่ง Google+ รุกฆาตเฟซบุ๊ก" จะเห็นว่าบริการกูเกิล+ ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อต่อกรกับเครือข่ายสังคมอย่าง Facebook โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ การใช้งานหรือหน้าตาที่คล้ายคลึงกันมาก แต่ที่นี้จุดต่างของกูเกิล+ คือสิ่งใดที่จะมัดใจขาโซเชียล วันนี้ทางทีมงานผู้จัดการไซเบอร์จะพาไปชมหน้าตาของกูเกิล+ ทั้งแบบบนเว็บไซต์และบนแอนดรอยด์โฟนกันครับ Stream and Profile Screen | |||
Circles | |||
ซึ่งวิธีการโพสต์ข้อความ รูปภาพ ลิงค์ วิดีโอ และสถานที่จะสามารถทำได้ที่หน้า "สตรีม" ดังตัวอย่างรูปประกอบด้านบน การเพิ่มเพื่อนในแวดวง กูเกิล+ ก็เหมือนการ Follow ใน Twitter สิ่งหนึ่งที่เป็นเหมือนไม้ตายสำคัญอีกหนึ่งข้อของกูเกิล+ ก็คือการเพิ่มเพื่อนที่ใช้สไตล์ Follow เหมือนใน Twitter โดยที่ผู้ใช้สามารถเข้าไปยังหน้าโปรไฟล์ของคนที่ต้องการเพิ่มเป็นเพื่อนใน แวดวง และกำหนด Circles เท่านั้น เท่ากับเราก็ได้ติดตามความเคลื่อนไหวของเขาแล้ว และแน่นอนว่าบุคคลเหล่านั้นก็รู้เช่นกันว่าคุณกำลังติดตามเขาอยู่ ซึ่งเขาสามารถเลือกที่จะเพิ่มคุณเป็นเพื่อนใน Circles ของเขาได้เช่นกัน **แต่ทั้งนี้สำหรับผู้ใช้ที่ได้ Follow (เพิ่มเพื่อนลงในแวดวง) จะสามารถเห็นโพสต์ข้อความ รูปภาพ ลิงค์ และสถานที่ทั้งหมดได้ก็ต่อเมื่อบุคคลที่โดน Follow เขาตั้งเงื่อนไขการโพสต์ข้อความเป็นสาธารณะเท่านั้น Sparks | |||
Hangout | |||
Instant Upload | |||
Huddle | |||
นอกจากนั้น Huddle ยังถูกกูเกิลชูให้เป็นระบบ Chat ที่สามารถใช้สนทนาข้ามระหว่างสมาร์ทโฟนกับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่รองรับ กูเกิล+ ได้ อย่าง ในปัจจุบันจะเป็นแอนดรอยด์โฟน ที่เมื่อมีผู้สนทนาเข้ามาพูดคุยกับผู้ใช้ ถึงแม้ผู้ใช้จะไม่ได้รันแอปฯ กูเกิล+ อยู่ แต่ระบบจะทำการเตือนอย่างอัตโนมัติเมื่อมีการสนทนาระหว่างผู้ใช้เกิดขึ้น Google+ for Android | |||
ซึ่งหน้าหลักๆ ของกูเกิล+ จะประกอบด้วย Stream Photos Circles Huddle Profile และที่สำคัญคือ Notifications แต่สำหรับกูเกิล+ เวอร์ชันแอนดรอยด์จะไม่ได้ติดตั้ง Hangout สำหรับใช้งาน Video Call มาให้เหมือนกับในหน้าเว็บเพจ | |||
ซึ่งจากคุณสมบัติที่ทีมงานผู้จัดการไซเบอร์กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นว่าจุดขายหลักๆ ของกูเกิล+ น่าจะอยู่ที่ระบบการโพสต์คอนเทนต์ผ่าน Circles ซึ่งสามารถตั้งกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการให้เห็นข้อความเหล่านั้นได้ รวมถึงความสามารถในการเปิดใช้ระบบ Personal Cloud ในการฝากรูปแบบอัตโนมัติและแชร์ออกไปยังบล็อกหรือในตัวกูเกิล+ เองได้ นอกจากนั้นในส่วนของระบบสมาร์ทโฟน ทางกูเกิลก็ส่งไม้ตายมาพิชิตและดึงความเป็นโซเชียลมีเดียจาก Facebook ด้วยการคลอดบริการ Huddle ที่จะมีลักษณะการทำงานคล้าย Whatsapp + Facebook Chat โดย Huddle นอกจากจะถูกผนวกรวมกับกูเกิล+ แล้ว ตัว Huddle ยังแยกออกมาเป็นอีกหนึ่งแอปฯ บนสมาร์ทโฟน เพื่อจะได้ให้ผู้ใช้เข้าใช้บริการดังกล่าวได้ง่ายขึ้น โดยการทำงานของระบบนอกจากสนทนาเป็นกลุ่มและแบบ One by One แล้ว ตัว Huddle บนสมาร์ทโฟนยังสามารถทำงานเป็น Background เหมือน Whatsapp ได้ เท่ากับว่า Huddle จะทำให้การสนทนาทำได้ต่อเนื่องและไม่สะดุดเหมือน Facebook Chat ที่เพียงแค่ออกจากแอปฯ หน้า Chat ก็จะปิดลง (ยกเว้นใช้แอปฯ 3rd Party ช่วยออนไลน์) แต่ทั้งนี้ก็ใช่ว่าข้อดีทั้งหมดจะทำให้กูเกิล+ สามารถเกิดขึ้นได้อย่างง่ายๆ เพราะต้องไม่ลืมว่า Facebook มีฐานผู้ใช้ค่อนข้างมาก ซึ่งถ้ารวมถึงเกมและแอปฯ คอนเทนต์พิเศษต่างๆ แล้ว ก็นับว่า Facebook ก็ยังคงความเป็นขาใหญ่ในโลกโซเซียลเน็ตเวิร์กอยู่วันยังค่ำ แต่สำหรับกูเกิล+ ที่เพิ่งเกิดใหม่ ยังอาจมีข้อบกพร่องหลายจุด อย่างความยุ่งยากในการสมัครสมาชิก ที่ในเวอร์ชันทดสอบผู้ต้องการใช้กูเกิล+ จะต้องใช้บัญชี GMail เท่านั้น รวมถึงเรื่องการจัดการความเป็นส่วนตัว ที่ในเวอร์ชันทดสอบยังอาจมีข้อผิดพลาดอยู่บ้าง และสุดท้ายเรื่องของ API ที่กูเกิลควรรีบแจกจ่ายให้แก่นักพัฒนาเพื่อให้กลุ่มคนเหล่านั้นเร่งเข้า มาสนับสนุน ผลิตและป้อนคอนเทนต์พิเศษแก่กูเกิล+ ได้ทันวันที่ตัว Official เปิดตัว เพราะต้องอย่าลืมว่าลำพัง Features หลักๆ ของกูเกิล+ คงไม่อาจอยู่รอดได้ระยะยาว แต่การมีแอปฯ หรือคอนเทนต์พิเศษเด็ดๆ จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจและดึงดูดกลุ่มคนที่หลากหลายให้หันมาสนใจตัวกูเกิล+ มากขึ้น อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนี้กูเกิล+ ยังอยู่ในช่วงทดสอบใช้งาน ผู้ใช้และผู้สนใจทุกท่านก็ควรรอดูแผนการต่อๆ ไปของกูเกิลครับว่าจะเป็นเช่นไรบ้าง |
วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
Review กูเกิ้ล พลัส +
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น